วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การป้องกันยาเสพติด

การป้องกันตนเอง
1. ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับการเจ็บป่วย
2. ไม่ทดลองเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด หรือเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะติดง่าย เลิกยาก และมี
อันตรายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
3. การคบเพื่อนควรเลือกคบเพื่อนที่ดี หลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
4. ควรรู้จักใช้ความคิด และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ควรปรึกษา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หรือญาติผู้ใหญ่ที่สนิทและไว้วางใจมาช่วยแก้ไขปัญหา
5. รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

การป้องกันสำหรับครอบครัว
1. แนะนำตักเตือนให้ความรู้ แก่สมาชิกในครอบครัวให้เกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัย
ของยาเสพติด
2. สอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าติดยาให้รีบนำไปบำบัดรักษา
ทันที
3. กรณีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรไปปรึกษาแพทย์
4. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก และเป็นที่ปรึกษาแก่ ลูก และ
สมาชิกในครอบครัวได้
5. พ่อแม่ ควรให้ความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ในการอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดกับลูก

พิษของยาเสพติดจะแตกต่างกันไปดังนี้
1. พิษของยาบ้า และยาอีจะคล้ายคลึงกัน ส่วนยาเคนั้น จะแตกต่างออกไป อย่างไรก็ดีข้อมูล เรื่องของยาอีและยาเค ยังมีจำกัด
2. การใช้โดยการฉีด ทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบบริเวณที่ฉีด และเป็นหนทาง ติดโรคเอดส์ได้
3. ในกรณีที่ใช้ยาบ้าในขนาดสูง ในระยะเฉียบพลันจะทำให้ตัวร้อน เหมือนเป็นไข้ เหงื่อแตกพลั่ก ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด ตาพร่า มึนงง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูงฉับพลัน ตัวสั่น ควบคุมร่างกายไม่ได้ ชัก หมดสติ ในบางรายอาจเสียชีวิต จากเส้นเลือด ในสมองแตก หัวใจวาย การชัก หรือตัวร้อนจัด
4. ถ้าหากใช้ยาต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ยาบ้าทำให้เกิด ความผิดปกติทางจิต คล้ายกับคนบ้า ชนิดหวาดระแวง (Paranoid) และอาจก่อความรุนแรง หรืออาชญากรรมได้ ร่างกายจะทรุดโทรม อ่อนแอ เนื่องจากขาดอาหา รและขาดการพักผ่อน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ ในบางครั้ง ผู้ที่ใช้ยาบ้า อาจจะทำงานหนักเกิน จนร่างกายรับไม่ไหว เกิดการบาดเจ็บหรือทุพลภาพได้
5. ยาอีมีพิษเฉียบพลัน คล้ายยาบ้ารวม ได้แก่ เกิดความปรวนแปร ทางจิตอารมณ เช่น วิตกกังวลรุนแรง ซึมเศร้า ความคิดหวาดระแวง และที่สำคัญคือ ประสาทหลอน อาการพิษ ทางกายได้แก่ กล้ามเนื้อเกร็งตัว คลื่นไส้ ตาพร่า เป็นลม หนาวสั่น เหงื่อแตก
6. จากผลการทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าทั้งยาบ้า และยาอี ทำลายเซลประสาทบางชนิด ทำให้สมองเสื่อมอย่างถาวร และเกิดความบกพร่อง ในการทำงาน ของร่างกายส่วนที่สมอง บริเวณนั้นควบคุม เช่น อารมณ์ การนอนหลับ การหลับนอน (ความสามารถทางเพศ) การรับรู้ความเจ็บปวด เป็นต้น
7. นอกจากนั้นยังเชื่อว่า ยาบ้าและยาอี มีผลพิษต่อตัวอ่อนด้วย โดยพบว่าทารก ที่คลอดจากมารดา ที่ติดยาบ้า มักมีความผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
8. สารเคมีพิษเฉียบพลัน กระตุ้นทำให้จิตอารมณ์วุ่นวาย และเกิดภาวะประสาทหลอน และเมื่อใช้ขนาดสูง จะทำให้หมดสติ

โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด


      เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก


โทษของสารเสพติดทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม


โทษของพิษภัยของสารเสพติดต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

      ผู้ที่ติดสารเสพติดนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสทางสังคมแล้ว ยังอาจมีพฤติกรรมนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ แก่สังคมได้ เพราะ
1. ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ ต่อตนเองและผู้อื่นได้ง่ายตลอดจนเป็นปัญหาของโรคบางอย่าง เช่น โรคเอดส์
2. ถ่วงความก้าวหน้าของชุมชน สังคม โดยเป็นภาระต่อส่วนรวม ที่ประชาชนต้องเสียภาษีส่วนหนึ่งมาใช้ในการปราบปรามบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติด
3. สูญเสียแรงงานโดยไร้ประโยชน์บั่นทอนประสิทธิภาพ ของผลผลิต ทำให้รายได้ของชาติในส่วนรวมกระทบกระเทือน และเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ
4. เนื่องจากสภาพเป็นคนอมโรคมีความประพฤติและบุคลิกลักษณะ เสื่อมจนเป็นที่รังเกียจ
ของสังคม ทำให้เป็นคนไร้สติในวงสังคม โอกาสที่จะประกอบกิจที่ผิดศีลธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งเสพย์ติด เช่น พูดปด ขโมย หรือกลายเป็นอาชญากร เพื่อแสวงหาเงินซื้อสารเสพติดสิ่งเหล่านี้ล้วนทำลายอนาคตทำลายชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล


โทษของสารเสพติดที่ก่อให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติ
      รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคน และงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ความมั่นคงของประเทศชาติถูกกระทบกระเทือน ประชาชนเดือนร้อนเพราะเหตุอาชญากรรม ประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ติดสารเสพติดเป็นเยาวชน

ยาเสพติด

       ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการอยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม


      ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสพติด


ประเภทของยาเสพติด

      ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกฎหมายดังนี้


ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย


ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ


ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา


สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
      1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
      1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
      1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
      1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ


2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
      2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
      2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่วมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
      2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเสพติด


3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
     ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น

วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด


2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย


3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย


4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การใช้ยา ( Ep. 2 )

ในที่สุดก็มาถึงบทสุดท้ายของเรื่องนี้กันแล้วหละครับ กับวิธีใช้ยากับ 3 ประเภทที่เหลือ ซึ่งวิธีการใช้มีดังนี้ครับ

วิธีใช้ยาชนิดแผ่นปิดผิวหนังรักษาอาการปวดแน่นหน้าอก



1. ควรปิดแผ่นยาเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้มีอาการแล้วค่อยปิด เพราะจะได้ผลช้า
2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ยา
3. ติดแผ่นยาในบริเวณที่มีขนน้อยและแห้ง เช่น ท้องแขนหรือใต้ราวนม
4. อย่าปิดยาบริเวณที่มีรอยแผลหรือรอยพับ
5. เพื่อป้องกันการดื้อยาในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปิดแผ่นยาเพียงวันละ 12 – 14 ชั่วโมง 
เช่น ปิดแผ่นยาในเวลา 7.00 น. และดึงออกเวลา 19.00 น. เป็นต้น
(ควรดึงแผ่นยาออกช่วงเวลากลางคืน)

วิธีใช้ยาเหน็บทวารหนัก

1. ล้างมือให้สะอาด แกะกระดาษห่อยาออก
2. นอนตะแคง เหยียดขาข้างที่นอนทับออก และงอเข่าข้างที่อยู่ข้างบน 
3. ค่อย ๆ สอดยาเข้าทวารหนักให้ลึกจนสุดเม็ดยาที่สอด
4. นอนในท่าเดิมประมาณ 15 นาที เพื่อให้ยาละลายหมด และไม่หลุดออกมา
5. หากยาเหน็บนิ่มหรือไม่คงรูป ควรแช่ยาในตู้เย็นช่องธรรมดา เพื่อให้ยาคงรูปแข็ง
6. ควรเก็บยาเหน็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา

วิธีใช้ยาเหน็บช่องคลอด

1. ล้างมือให้สะอาด แกะกระดาษห่อยาออก
2. ปัสสาวะก่อนให้เรียบร้อย
3. จุ่มยาลงในน้ำสะอาดให้พอเปียกหมาด ๆ
4. นอนหงายชันเข่า และค่อย ๆ สอดยาเข้าช่องคลอดให้ลึกที่สุด
5. นอนพักสักครู่ เพื่อให้ยาละลายหมด
*ข้อควรระวัง* --> ยาอาจเปื้อนกางเกงในได้


หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาประเภทต่างๆอย่างถูกวิธีนะครับ

การใช้ยา ( Ep. 1 )

        สวัสดีครับ หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน พวกเราจะมาอธิบายเรื่องการใช้ยากันต่อนะครับ โดยจะเป็นการใช้ยาประเภทพ่น หรือ หยอด เพื่อล้างบางสิ่งนะครับ


วิธีใช้ยาหยอดตา
1. ล้างมือให้สะอาด เขย่าขวดยา
2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
3. หยอดตาตามจำนวนหยดลงไป ระวังอย่าให้หลอดหยดแตะกับตาหรือเปลือกตา
4. หลับตาพร้อมทั้งใช้มือกดหัวตาไว้ประมาณ 1 – 2 นาที ซับส่วนที่เกินออก
5. หากจำเป็นต้องหยอดยาตาหลายชนิดในช่วงเวลาเดียวกัน ให้เว้นช่วงระยะเวลา นาที เพื่อให้ยาแต่ละชนิดออกฤทธิ์ได้ดี
6. เมื่อเปิดยาใช้แล้ว ควรทิ้งหลังจาก เดือน ห้ามล้างหรือทำความสะอาดหลอดหยดระหว่างใช้


วิธีใช้ยาป้ายตา
1. ล้างมือให้สะอาด
2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
3. บีบยาลงในกระพุ้งตา โดยเริ่มจากหัวตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะกันตาหรือเปลือกตา
4. กะพริบตาเบา ๆ ประมาณ 1 – 2 นาที หรือใช้นิ้วมือคลึงเบา ๆ เช็ดยาส่วนเกินออก
5. ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับยาหยอดตา ให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาประมาณ นาที

วิธีใช้ยาหยอดหู

1. ล้างมือและทำความสะอาดใบหูด้วยผ้าชุบน้ำ เช็ดให้แห้ง
2. กำขวดยาไว้ในอุ้งมือ 2 – 3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับร่างกาย
3. เอียงหู หรือนอนตะแคง ให้หูข้างที่จะหยอดอยู่ด้านบน
4. ดูดยาและหยอดยาตามจำนวนหยด ดึงใบหูบา ๆ เพื่อให้ยาไกลลงหูได้สะดวก
5. เอียงหูข้างนั้นไว้ 2 – 3 นาที หรือใช้สำลีอุดหูไว้ นาที
6. หากต้องการหยอดหูทั้ง ข้าง ให้ทำซ้ำเหมือนเดิม


วิธีใช้ยาหยอดจมูก
1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก
2. ล้างมือให้สะอาด
3. แหงนคอไปด้านหลังให้มากที่สุด หรือนอนราบบนเตียง เงยหน้าขึ้น
4. หยอดยาลงในรูจมูก ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะจมูก
5. ก้มศีรษะมาทางด้านหน้า และหมุนซ้ายขวาไปมาช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 นาที
6. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก

วิธีใช้ยาพ่นจมูก

1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก
2. ล้างมือให้สะอาด
3. แหงนหน้าเพียงเล็กน้อย
4. กดหลอดยาพ่นโดยให้หลอดพ่นสัมผัสปลายจมูกได้
5. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก

วิธีใช้ยาสูดพ่นทางปาก
1. เปิดฝาขวดแล้วเขย่าขวดยา
2. หายใจออกทางจมูกให้มากที่สุด
3. อมปลายกระบอกยา และหุบปากให้สนิท
4. ใช้นิ้วกดก้นหลอดยาลงให้สุด พร้อมกับหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ
5. ดึงกระบอกพ่นออกจากปาก หุบปากกลั้นหายใจให้นานที่สุด อย่างน้อย 10 วินาที
6. ถ้าต้องการพ่นอีกครั้ง ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย นาที

     สำหรับวิธีการใช้ยาเหน็บ และวิธีใช้ยาชนิดแผ่นปิดผิวหนังรักษาอาการปวดแน่นหน้าอกจะอธิบายในคราวต่อไปนะครับ

การใช้ยา ( Ep. 0 )

       แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาทั่วไปได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตามนะครับ ผู้ใช้ยาควรทราบถึงความหมายของคำต่าง ๆ ที่พบเสมอในฉลากยา นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายรูปแบบ ที่ผู้ใช้ยาควรทราบวิธีใช้ยาเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาครับ 
     ซึ่งก่อนอื่นเราจะมาดูถึงการใช้ยาโดยการรับประทานกันก่อนนะครับ ยาประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด สาเหตุที่ยาส่วนมากนั้นเป็นยาประเภทรับประทาน นั่นก็เพราะว่าสะดวกสบายต่อผู้บริโภค และสะดวกสบายต่อผู้ผลิตด้วยเช่นกันครับ วิธีการใช้ยาพวกนี้ก็คือการรับประทานเข้าไป ยกเว้นแต่ว่าเป็นยาผง ซึ่งจะกล่าวในถัดไปนะครับ โดยยาประเภทนี้สามารถแบ่งตามเวลาการรับประทานได้ดังนี้ครับ 


     1. รับประทานก่อนอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่า ก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดีนั่นเอง ซึ่งหากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานอาหารลงไปได้ทัน
     2. รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็นยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมากเลยทีเดียว
     3. รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมักทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผลทะลุได้นะครับ ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
     4. รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น

     แต่ก็มีบางประเภทที่ต้องละลายในน้ำก่อนหรือเป็นยาประเภทอมเท่านั้นห้ามรับประทานเข้าไป ซึ่งวิธีใช้มีดังต่อไปนี้
           
วิธีละลายยาผงแห้งปฏิชีวนะ
     1. หากต้องใช้ยามากกว่า 1 ขวด ให้ละลายยาทีละขวด
     2. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน
     3. ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำดื่มที่สะอาดละลายยา ห้ามให้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น
     4. เปิดฝาขวดยา เติมน้ำลงในขวดยาประมาณครึ่งขวด ปิดฝาขวด เขย่าให้ผงยาเปียกทั่วและกระจาย ไม่จับเป็นก้อน
     5. เปิดฝาขวดยาอีกครั้ง เติมน้ำลงในขวดจนถึงขีดที่กำหนดไว้บนขวดยาหรือขีดบอกบนฉลากยา
     6. ปิดฝาขวดยา เขย่าให้ยากระจายเข้ากันดี
     7. ก่อนรินยา ต้องเขย่าขวดก่อนทุกครั้ง ยาที่ผสมแล้วมีอายุการใช้ไม่เกิน 7 วัน และเก็บยาไว้ในที่เย็นหรือในตู้เย็นช่องธรรมดา
            
วิธีใช้ยาเม็ดสำหรับอมใต้ลิ้นรักษาอาการปวดแน่นอก


     1. อมยาใต้ลิ้นทันทีเมื่อมีอาการปวดแน่นอก
     2. ไม่ควรเคี้ยวยา กลืนยา หรือกลืนน้ำลายขณะอมยา
     3. เมื่ออมยาเม็ดแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 และ 3 ห่างกัน 5 นาที เมื่อครบ 3 เม็ดแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
     4. สามารถอมยาป้องกันล่วงหน้าได้ 5 – 10 นาที ก่อนประกอบกิจกรรมที่คาดว่าจะทำให้มีอาการปวดแน่นอก


     ส่วนวิธีการใช้ยาประเภทอื่นๆจะกล่าวในครั้งต่อไปนะครับ 

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

[หัวข้อย่อย] Baile Folklorico


       

          Baile Folklorico แปลตรงตัวว่า การเต้นพื้นเมือง แต่ที่จริงแล้ว Baile Folklorico นั้น หมายถึงการเต้นพื้นเมืองเฉพาะในแถบ เม็กซิโก และ อเมริกากลาง ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่ สเปนยึดครองเม็กซิโก และได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับ แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึง Baile Folklotico ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งพัฒนาโดย Amalia Hernandez ในปี 1952 ซึ่งจะขอเรียกว่า Modern Baile Folklorico
          Modern Baile Folklorico เริ่มต้นจากนักแสดงเพียง 8 คนในคณะของ Hernandez แต่ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมากจนได้มีการขยายวง และขยายการแสดงไปยังสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เบื้องหลังความสำเร็จนี้อาจอยู่ที่การผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างเพลงดั้งเดิมของเม็กซิโก และท่าเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นบัลเล่ต์และ Modern Dance
          ลักษณะของการแสดงนี้คือ ผู้แสดงสวมชุดพื้นเมือง ประดับตกแต่งด้วยลูกปัด ต่างๆนานา การแสดงมักใช้ประกอบเรื่องราว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความรัก เป็นเสมือนละครเวที ซึ่งผู้แสดงใช้การเคลื่อนที่โดยการกระโดด หมุนตัวและกระทืบเท้า เป็นต้น